
ผู้ทำบัญชีคืออะไร? |
ผู้ทำบัญชี คือ ผู้รับผิดชอบในการทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีไม่ว่าจะกระทำในฐานะลูกจ้างของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือในฐานะอื่นใดก็ตาม |
ผู้ทำบัญชี ได้แก่ บุคคลดังต่อไปนี้
1. กรณีเป็นพนักงานของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ได้แก่ ผู้อำนวยการฝ่ายบัญชี สมุห์บัญชี หัวหน้าแผนกบัญชี หรือผู้ดำรงตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีหน้าที่รับผิดชอบเช่นเดียวกับผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว
2. กรณีเป็นสำนักงานบริการรับทำบัญชี ได้แก่
2.1 สำนักงานมิได้จัดตั้งในรูปคณะบุคคล ผู้ทำบัญชี คือ หัวหน้าสำนักงาน
2.2 สำนักงานจัดตั้งในรูปคณะบุคคล ผู้ทำบัญชี คือ ผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งรับผิดชอบในการให้บริการรับทำบัญชี
2.3 สำนักงานจัดตั้งในรูปของนิติบุคคล ผู้ทำบัญชี คือ กรรมการ
2. กรณีเป็นผู้รับจ้างทำบัญชีอิสระที่เป็นบุคคลธรรมดา ผู้ทำบัญชี คือ ผู้ประกอบวิชาชีพ
3. ผู้ช่วยผู้ทำบัญชี ในกรณีที่ผู้ทำบัญชีรับทำบัญชีเกินกว่า 100 ราย ต้องมีผู้ช่วยที่มีคุณสมบัติเหมือนกับกับผู้ทำบัญชี
|
คุณสมบัติและเงื่อนไขของผู้ทำบัญชี
1. คุณวุฒิของผู้ทำบัญชี
1.1 วุฒิขั้นต่ำอนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาการบัญชี สามารถจัดทำบัญชีได้ตามเงื่อนไขดังนี้
1.1.1 ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ซึ่งมีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท หรือมีสินทรัพย์รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท หรือมีรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท
1.1.2 บริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งมีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท หรือมีสินทรัพย์รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท หรือมีรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท
1.2 วุฒิปริญญาตรี สาขาการบัญชี สามารถจัดทำบัญชีได้ทุกนิติบุคคล
2. คุณสมบัติอื่น
2.1 ต้องมีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร
2.2 มีความรู้ภาษาไทยเพียงพอที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ทำบัญชีได้
2.3 ไม่เคยต้องโทษ โดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เนื่องจากได้กระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี หรือกฎหมายว่าด้วยผู้สอบบัญชี หรือกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชี เว้นแต่พ้นระยะที่ถูกลงโทษ มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี
หน้าที่ของผู้ทำบัญชี
1. ผู้ทำบัญชีต้องจัดทำบัญชีเพื่อแสดงผลการดำเนินงาน ฐานะการเงิน หรือการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่เป็นอยู่ ตามความเป็นจริงและตามมาตรฐานบัญชี โดยมีเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีให้ถูกต้องครบถ้วน
2. ลงรายการบัญชีให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดคือ
2.1 เป็นภาษาไทย หากลงรายการเป็นภาษาต่างประเทศให้มีภาษาไทยกำกับ หรือลงรายการเป็นรหัสให้มีคู่มือคำแปลรหัสเป็นภาษาไทยไว้
2.2 ในการลงรายการในบัญชี ให้เขียนด้วยหมึก ดีดพิมพ์ ตีพิมพ์ หรือทำด้วยวิธีอื่นใดที่ได้ผลในทำนองเดียวกัน
ตารางแสดงคุณสมบัติของผู้ทำบัญชี |
|
|
|
|
|
|
1.บุคคลธรรมดาหรือห้างหุ้นส่วนที่ไม่ได้จด
ทะเบียน ซึ่งรัฐมนตรีกำหนด
|
|
|
|
|
2. ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนและบริษัทจำกัด
|
|
|
|
|
3. ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนและบริษัทจำกัด
|
|
|
|
|
4. บริษัทมหาชน นิติบุคคลต่างประเทศ กิจการร่วมค้า บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ และบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน(BOI)
|
|
|
|
|
|
หลักเกณฑ์ตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า |
เรื่อง: การเก็บนับชั่วโมงการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องของผู้ทำบัญชี ประกาศออกมาครั้งแรกเมื่อปี 2547
– กำหนดให้ผู้ทำบัญชีมีหน้าที่ต้องเก็บนับชั่วโมงการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ เป็นรายรอบ 3 ปี จำนวน 27 ชั่วโมง โดยใน 27 ชั่วโมงนี้
– จะต้องเป็นชั่วโมงบัญชีไม่น้อยกว่า 18 ชั่วโมง ทั้งนี้ในแต่ละปีปฏิทินต้องเก็บชั่วโมงให้ได้ไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง
หลักเกณฑ์ดังกล่าวใช้บังคับใช้มาเกือบ 10 ปีเต็ม ในปี 2557 กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ก็ได้ออกประกาศใหม่อีกฉบับหนึ่ง เรื่อง “กำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี พศ.2557” โดย ส่วนใจความที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการเก็บนับชั่วโมงยังคงดำรงเจตนารมณ์เดิม ในเรื่องของการส่งเสริมให้ผู้ทำบัญชีพัฒนาความรู้อย่างต่อเนื่องในฐานะที่ เป็นหนึ่งในวิชาชีพที่มีความสำคัญอาชีพหนึ่งต่อภาคธุรกิจการค้า ส่วนในรายละเอียดของหลักเกณฑ์ได้ปรับปรุงสาระเกี่ยวกับรอบปีการพัฒนาความรู้ ต่อเนื่องทางวิชาชีพและเพิ่มจำนวนชั่วโมงที่ต้องเก็บนับอีกส่วนหนึ่ง
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้แก้ไขประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง “กำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี พ.ศ. 2557
ลงวันที่ 30 กรกฎาคม 2557
ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2557
ดูประกาศได้ที่ http://www.dbd.go.th/ewt_dl_link.php?nid=9055&filename=index
โดยสรุป นับตั้งแต่ 1 มกราคม 58 เป็นต้นไป ในแต่ละปีปฏิทิน ผู้ทำบัญชีจะต้องเก็บนับชั่วโมงพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพไม่น้อยกว่า ปีละ 12 ชั่วโมง และใน 12 ชั่วโมงนี้เป็นชั่วโมงบัญชีไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่ง การพัฒนาความรู้ต่อเนื่อง ได้ทางเว็บไซต์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเหมือนเช่นเดิม ได้ทันทีหลังการเก็บนับชั่วโมง แต่ไม่เกิน 30 วันนับแต่สิ้นปีปฏิทิน และเก็บหลักฐานการเก็บนับชั่วโมงนั้นไว้ 3 ปีนับแต่วันสิ้นสุดของการทำกิจกรรมเก็บนับชั่วโมงนั้นๆ
ประเด็น สำคัญอีกประการที่ปรากฏในประกาศคือ ในข้อวงเล็บห้าที่ระบุว่า ผู้ทำบัญชีใดไม่เข้ารับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพหรือเข้ารับการ พัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพไม่ครบถ้วน แม้ว่าถูกเปรียบเทียบตามกฏหมายแล้ว ยังต้องพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพให้ครบตามจำนวนชั่วโมงตามระยะเวลา ที่ขาดหายไป แต่เมื่อรวมกันแล้วไม่เกิน 24 ชั่วโมง ทั้งนี้ไม่นับรวมจำนวนชั่วโมงในปีปัจจุบัน ซึ่งตรงนี้หมายความว่าหากเก็บนับชั่วโมงไม่ครบ นอกจากมีหลักเปรียบเทียมตามกฏหมายอยู่แล้ว ผู้ทำบัญชียังจะต้องตามเก็บให้ครบ แต่ไม่เกิน 24 ชั่วโมงและไม่รวมชั่วโมงที่จะต้องเก็บในปีปัจจุบัน
พร้อมสุข รับสร้างบ้าน
